สถาปนิกประจำจังหวัด ของ เบนจามิน เมานต์ฟอร์ต

การก่อสร้างมหาวิหารไครสต์เชิร์ชออกแบบโดยจอร์จ กิลเบิร์ต สกอตต์ อำนวยการโดยเบนจามิน เมานต์ฟอร์ตที่ออกแบบยอดแหลมอาคาร มหาวิหารไครสต์เชิร์ชสร้างเสร็จในปี 1904 จนในปี 2011 เกิดแผ่นดินไหวและยอดแหลมอาคารพังทลายลงมา ส่วนอาคารยังคงไม่เปลี่ยนแปลงแทบทั้งหมด

ในฐานะ "สถาปนิกประจำจังหวัด" ตำแหน่งใหม่ที่ตั้งขึ้นมาซึ่งเมานต์ฟอร์ตได้รับการแต่งตั้งในปี 1864[32] เมานต์ฟอร์ตได้ออกแบบโบสถ์ไม้ให้แก่ชุมชนโรมันคาทอลิกของเมืองไครสต์เชิร์ช โบสถ์ไม้นี้ต่อมามีการสร้างให้ใหญ่ขึ้นหลายครั้งจนเป็นมหาวิหาร (cathedral)[4] จนในปี 1901 ได้มีการแทนที่โดยมหาวิหารแห่งเบลสด์แซเครเมนต์ (Cathedral of the Blessed Sacrament) อาคารที่สร้างจากหินที่ดูคงทนกว่าเดิม ออกแบบโดยสถาปนิก แฟรงก์ ปีเตอร์เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกโดยยังคงเก็บรักษาอาคารของเมานต์ฟอร์ตไว้อยู่[33] งานของเมานต์ฟอร์ตมักเป็นไม้ วัสดุที่เขาไม่คิดว่าเป็นอุปสรรคต่อรูปแบบกอทิก[34] แม้เขาจะฉีกรูปแบบการเคารพต่ออาคารแบบกอทิกที่มักสร้างจากหินและปูน[35] ระหว่างปี 1869 ถึง 1882 เขาออกแบบพิพิธภัณฑ์แคนเทอร์เบอรีและต่อมาออกแบบวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรีและหอนาฬิกาในปี 1877[4]

อาคารวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรีซึ่งต่อมาคือมหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรี เริ่มต้นก่อสร้างจากหอนาฬิกา อาคารนี้เปิดเมื่อปี 1877 ถือเป็นการสร้างมหาวิทยาลัยตามเป้าหมายแห่งแรกของนิวซีแลนด์ วิทยาลัยสร้างเสร็จเป็นสองส่วนภายในในรูปแบบปกติของกอทิกแบบเมานต์ฟอร์ต[4]

จอร์จ กิลเบิร์ต สกอตต์ สถาปนิกออกแบบมหาวิหารไครสต์เชิร์ช ผู้เป็นครูของเมานต์ฟอร์ตและเป็นช่างไม้ที่ปรึกษา อยากให้เมานต์ฟอร์ตเป็นผู้ตรวจงานและสถาปนิกผู้ดูแลโครงการมหาวิหารแห่งใหม่[22] ข้อเสนอนี้ เดิมทีคณะกรรมการมหาวิทหารไม่เห็นด้วย[2] อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากความล่าช้าในงานอาคารจากปัญหาด้านการเงิน ท้ายสุดตำแหน่งสถาปนิกดูแลโครงการก็ตกเป็นของเมานต์ฟอร์ตในปี 1873 เมานต์ฟอร์ตดูแลการดัดแปลงงานออกแบบของสถาปนิกที่ขาดหายไป ที่เห็นได้มากที่สุดคือหอสูงและมุขทางเข้าทิศตะวันตก เขายังได้ออกแบบอ่างล้างบาป อนุสรณ์ฮาร์เพอร์ และมุขทางเข้าทิศเหนือ[12] มหาวิทยานี้สร้างไม่เสร็จจนกระทั่งปี 1904 หกปีหลังจากที่เมานต์ฟอร์ตเสียชีวิต มหาวิหารมีรูปแบบการตกแต่งแบบกอทิกยุโรปเป็นอย่างมาก ด้วยมีหอระฆังอยู่ข้างมหาวิหาร แทนที่จะเป็นหออยู่ด้านบนเหมือนธรรมเนียมนิยมอังกฤษ[36]

ปี 1872 เมานต์ฟอร์ตได้เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งแคนเทอร์เบอรีแอสโซซิเอชันออฟอาร์คิเทกส์ กลุ่มคนที่ดูแลการพัฒนาเมืองใหม่ที่ตามมาหลังจากนี้ ถือเป็นจุดสูงสุดของอาชีพเขา[21] เมานต์ฟอร์ตยังมีชื่อเสียงจากการปรับเปลี่ยนการใช้ช่องโค้งน้อยกว่าครึ่งวงกลมมากกว่าช่องโค้งในรูปแบบโรมาเนสก์ (ออกัสตัส พิวจินถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของรูปแบบกอทิก) ยังมีความท้าทายในการทำโถงใหญ่ที่จะสร้างเสร็จในปี 1882 และได้กลายมาเป็นพื้นที่สาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในไครสต์เชิร์ช[37] นอกจากนี้รายละเอียดที่เป็นไปไม่ได้จากงานครั้งก่อนก็ปรากฏให้เห็นในการออกแบบโถงเนื่องจากมีการระดมทุนครั้งใหญ่ให้แก่วิทยาลัย การสร้างเสร็จในขั้นแรกได้รับเสียงชื่นชม แม้การขยายพื้นที่อย่างเช่น ห้องปฏิบัติการชีววิทยาในเพิ่มเข้าไปในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1890[38] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1880 เมานต์ฟอร์ตได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาปนิกชั้นนำด้านโบสถ์คริสต์ของนิวซีแลนด์ โดยมีชื่อในการออกแบบโบสถ์มากกว่า 40 แห่ง

พิพิธภัณฑ์แคนเทอร์เบอรี ออกแบบโดยเบนจามิน เมานต์ฟอร์ต สร้างเสร็จปี 1882 ในรูปแบบชาโตฝรั่งเศส

ในปี 1888 เขาออกแบบมหาวิหารเซนต์จอห์นในเนเพียร์[4] อาคารที่ทำจากอิฐนี้ได้ถูกรื้อถอนในภัยพิบัติแผ่นดินไหวในปี 1931 ที่ทำลายเมืองเนเพียร์ไปอย่างมาก[39] ระหว่างปี 1886 ถึง 1897 เมานต์ฟอร์ตได้ทำงานหนึ่งในโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุด คือมหาวิหารเซนต์แมรีที่ทำจากไม้ มหาวิทยาแห่งเมืองออกแลนด์ ครอบคลุมพื้นที่ 9,000 ตารางฟุต (840 ตารางเมตร) เซนต์แมรีเป็นโบสถ์ไม้ซุงที่ใหญ่ที่สุดและเป็นหลังสุดท้ายที่สร้างโดยเมานต์ฟอร์ต[40] และยังถือเป็นโบสถ์ไม้กอทิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก[4] หลังสร้างเสร็จ ได้รับการพูดถึงว่า "ในด้านการออกแบบ มีความสมบูรณ์และสวยงาม อยู่ในระดับสูงแต่ยังไม่เท่ากับระดับมุขมณฑล" การให้ความสำคัญกับตำแหน่งหลังคาอันกว้างขวางโดยหน้าต่างช่องทางด้านอันยิ่งใหญ่ทำให้เกิดสมดุลกับพื้นที่โอบล้อมอันกว้างขวางของโบสถ์ ในปี 1892 โบสถ์ทั้งหลังได้สร้างเสร็จโดยมีหน้าต่างงานกระจกสี โดยโบสถ์ถูกย้ายไปยังที่แห่งใหม่ตรงข้ามถนนของสถานที่เดิมเป็นโบสถ์แห่งใหม่ โบสถ์เซนต์แมรีที่รับการสถาปนาในปี 1898 ถือเป็นผลงานใหญ่ชิ้นสุดท้ายของเมานต์ฟอร์ต[41]

นอกเหนือจากด้านการทำงานแล้ว เมานต์ฟอร์ตมีความสนใจด้านศิลปะและเป็นศิลปินผู้มีพรสวรรค์ แม้งานด้านศิลปะจะปรากฏว่าอยู่ในขอบเขตของสถาปัตยกรรม เขายังเป็นสมาชิกคริสตจักรแห่งอังกฤษและเป็นสมาชิกสภาโบสถ์แองกลิคันและคณะกรรมการมุขมณฑล[42]

บั้นปลายชีวิตของเมานต์ฟอร์ต มีเรื่องไม่พอใจจากตำแหน่งในฐานะสถาปนิกประจำจังหวัดคนแรก เขาถูกโจมตีจากคนรุ่นใหม่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ เบนจามิน เมานต์ฟอร์ตเสียชีวิตเมื่อปี 1898 สิริอายุได้ 73 ปี ศพถูกฝังที่สุสานตรีเอกภาพแอวอนไซด์ โบสถ์ที่เขาต่อเติมในปี 1879[4][12]

ใกล้เคียง

เบนจามิน แฟรงคลิน เบนจามิน โจเซฟ วาร์นี เบนจามิน เมานต์ฟอร์ต เบนจามิน จุง ทัฟเนล เบนจามิน เนทันยาฮู เบนจามิน แฮร์ริสัน เบนจามิน บัตตัน อัศจรรย์ฅนโลกไม่เคยรู้ เบนจามิน ทอมป์สัน เบนจามิน ดิสราเอลี เบนจามิน วอล์เกอร์ (นักแสดง)

แหล่งที่มา

WikiPedia: เบนจามิน เมานต์ฟอร์ต http://www.smh.com.au/photogallery/world/christchu... http://christchurchcitylibraries.com/heritage/Phot... http://christchurchcitylibraries.com/heritage/earl... http://christchurchcitylibraries.com/heritage/earl... http://christchurchcitylibraries.com/heritage/phot... http://www.architecture.auckland.ac.nz/common/libr... http://www.freemasons.co.nz/news/gazette/Vol30_1/f... http://static2.stuff.co.nz/1298346462/729/4689729_... http://www.stuff.co.nz/the-press/news/christchurch... http://archived.ccc.govt.nz/HeritageWeek/2000/Tour...